วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์


คู่อันดับ (Order Pair) เป็นการจับคู่สิ่งของโดยถือลำดับเป็นสำคัญ เช่น คู่อันดับ a, b จะเขียนแทนด้วย (a, b) เรียก a ว่าเป็นสมาชิกตัวหน้า และเรียก b ว่าเป็นสมาชิกตัวหลัง
(การเท่ากับของคู่อันดับ) (a, b) = (c, d) ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d

โดเมนและเรนจ์

เซตของสมาชิกตัวหน้าในคู่อันดับของ r1 = {1,2,3,4} เรียกเซตนี้ว่า โดเมนของ r1
    เซตของสมาชิกตัวหลังในคู่อันดับของ r1 = {2,3,4,5} เรียกเซตนี้ว่า เรนจ์ของr1
    ส่วนใน r2 จะเห็นว่าโดเมนของ  r2 เท่ากับเรนจ์ของ  r2 คือเซตของจำนวนเต็ม 

ฟังก์ชัน


ฟังก์ชันเป็นบทเรียนที่ต่อจากเรื่องความสัมพันธ์ ในบทเรียนนี้จะได้รู้จักว่าฟังก์ชันเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขอย่างไร การแทนฟังก์ชัน ฟังก์ชันจาก Aไป B ฟังก์ชันที่ควรรู้จัก พร้อมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้สมการและอสมการ การแก้โจทย์ปัญหาฟังก์ชัน ฟังก์ชันคอมโพสิท ฟังก์ชันอินเวอร์ส และพีชคณิตของฟังก์ชัน อ่านเพิ่มเติม

ฟังก์ชันเชิงเส้น


คือ ฟังก์ชั่นที่อยู่ในรูป f(x) = ax+b  เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงเช่น f(x) = 2x+1   
f(x) = -3x     f(x) = x-5 เป็นต้น   กราฟของฟังก์ชั่นเหล่านี้เป็นเส้นตรงที่ไม่ขนานกับแกน ฟังก์ชั่นเชิงเส้น f(x) = ax+b เมื่อ a=0 จะได้ฟังก์ชั่นอยู่ในรูป f(x) = b ฟังก์ชั่นนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ‘‘ ฟังก์ชั่นคงตัว ’’ (Constant function) กราฟของฟังก์ชั่นคงตัวจะเป็นเส้นตรง อ่านเพิ่มเติม 

ฟังก์ชันกำลังสอง


กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง   มีชื่อเรียกว่า พาราโบลา  ซึ่งลักษณะของกราฟของฟังก์ชันขึ้นอยู่กับค่าของ  a , b  และ  c   และเมื่อ  a  เป็นบวกหรือลบ  จะทำให้ได้กราฟเป็นเส้นโค้งหงายหรือคว่ำ  และกราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่กำหนดด้วยสมการ    y  =  ax^2   เมื่อ  a ไม่เท่ากับ 0       เมื่อ  a  > 0   และชนิดคว่ำ   เมื่อ   a < 0 อ่านเพิ่มเติม

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล


เรียก an ว่า เลขยกกำลัง   เรียก a ว่าฐานของเลขยกกำลัง และ เรียก n ว่าเลขชี้กำลัง
เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม มีสมบัติตามทฤษฎีบทต่อไปนี้  

ฟังก์ชันค่าสมบูรณ์


ค่า absolute ของ x ให้ระยะห่างระหว่าง x และ 0 เป็นบวกหรือศูนย์เสมอ
ตัวอย่างเช่น
|3| = 3, |-3| = 3, |0|=0. | 3 | = 3, | -3 | = 3 | 0 | = 0
โดเมนของฟังก์ชันค่าสมบูรณ์คือ R ทั้งเส้นของจริงในขณะที่ช่วงคือช่วง [0, ∞)
 ฟังก์ชันค่าสมบูรณ์สามารถอธิบายกฎ อ่านเพิ่มเติม

ฟังก์ชันขั้นบันได

ฟังก์ชันขั้นบันได คือฟังก์ชันบนจำนวนจริงซึ่งเกิดจากการรวมกันระหว่างฟังก์ชันคงตัวจากโดเมนที่แบ่งออกเป็นช่วงหลายช่วง กราฟของฟังก์ชันจะมีลักษณะเป็นส่วนของเส้นตรงหรือรังสีในแนวราบเป็นท่อน ๆ ตามช่วง ในระดับความสูงต่างกัน อ่านเพิ่มเติม